เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 14 ส.ค. 66

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

Share :

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “อาหารสำหรับผู้สูงอายุ”

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ  ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช แนะนำแนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม โดยแบ่งตามหลักอาหาร 5+1 หมู่ โดยนักกำหนดอาหารดังนี้

อาหารหมู่ 1 โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่ว และเต้าหู้   แนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์ประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ  เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน โดยความต้องการโปรตีนขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคไต มีความต้องการโปรตีนอาจมากหรือน้อยกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรือ สร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

อาหารหมู่ 2  ไขมัน  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีปัญหาไขมันในเลือดผิดปกติ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด  ควรเลือกรับประทานอาหารที่มี่ไขมันไม่อิ่มตัว เช่นปลาทะล น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง และถั่วเปลือกแข็ง ควรเลียงไขมันอิ่มตัวเช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไขมันทรานส์

อาหารหมู่ 3  ข้าว แป้ง น้ำตาล  ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท  ที่มีใยอาหารที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลได้ ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานจากน้ำตาลทุกชนิด ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

อาหารหมู่  4  ผลไม้  แนะนำให้รับประทานผลไม้ ประมาณ 1 จานรองกาแฟ ต่อมื้อ โดยเลือกผลไม้ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้วิตามินที่เพียงพอ และปริมาณน้ำตาลที่พอเหมาะ

อาหารหมู่ 5  ผัก  มีใยอาหารสูงช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือ ผัก 3 ทัพพี และผลไม้ 2 จานเล็ก  เพื่อให้ได้รับใยอาหารที่เพียงพอต่อการป้องกันโรค                                   

อาหารหมู่ 6  น้ำ  การดื่มน้ำเปล่า 6-8  แก้วต่อวัน ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินบี ซี เพื่อช่วยในการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย และช่วยในการขับถ่าย