ปริมาณโซเดียมในอาหาร


เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “ปริมาณโซเดียมในอาหาร”
ปริมาณโซเดียมในอาหาร ปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูง 2-3 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดย 70 % มาจากเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง มีผลเสียทำให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง
1 ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ต่อ 1 ช้อนชา
-เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
-ผงปรุงรส 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 500 มิลลิกรัม
-ผงชูรสมี 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 490 มิลลิกรัม
-ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 460 มิลลิกรัม
-น้ำมันหอย 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 450 มิลลิกรัม
-น้ำปลา 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 400 มิลลิกรัม
-ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 400 มิลลิกรัม
-ซอสพริก 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 220 มิลลิกรัม
-ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 140 มิลลิกรัม
2 เมนูอาหารที่มีโซเดียมสูง
-น้ำปลาหวาน 1 ถ้วย 100 กรัม ใส่กุ้งแห้ง มีโซเดียม 5,900 มิลลิกรัม
-น้ำพริกกะปิ 1 ถ้วย มีโซเดียม 2,250 มิลลิกรัม
-ปลาเค็ม 100 กรัม มีโซเดียม 5,327 มิลลิกรัม
- กุ้งแห้งแบบมีเปลือก 100 กรัม มีโซเดียม 3,240 มิลลิกรัม
-ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว 1 จาน มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม
-ส้มตำปูไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม
-ผักกาดดอง 1 กระป๋อง มีโซเดียม 1,720 มิลลิกรัม
- มะละกอเค็มอบแห้ง มีโซเดียม 4,460 มิลลิกรัม
-บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 1,100-1,800 มิลลิกรัม/ซอง
-ไข่เค็ม มีโซเดียม 480 มิลลิกรัม/ฟอง
-ไส้กรอกหมู 1 ไม้ ขนาด 30 กรัมมีโซเดียม 350 มิลลิกรัม
-แฮม 100 กรัมมีโซเดียม 876 มิลลิกรัม
ลดการบริโภคเค็ม ไม่ปรุงรสตามใจชอบ เลือกรับประทานอาหารสดหรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด การกินโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ลดปัญหาหลอดเลือดอุดตันลง 13 เปอร์เซ็นต์ ยืดอายุไตและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคร้ายอื่น ๆ